เทคนิคการเลือกชุดไทยจิตรลดา อย่างไรให้เหมาะสม

ตั้งชื่อตามพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ลักษณะเป็นทางการกว่าชุดไทยเรือนต้น เป็นเสื้อคอกลม ขอบตั้งขึ้นมาเล็กน้อย เสื้อเป็นแขนกระบอก ตัวชุดใช้ผ้าไหมปักเชิงเกลี้ยงมีเชิง เสื้อกับซิ่นแยกชิ้นกัน ซิ่นยาวป้ายหน้า ใช้เป็นชุดพิธีกลางวัน หรืองานพิธีที่ผู้ชายแต่งเต็มยศ ต้อนรับแขกพิเศษสำคัญที่มาเยือนอย่างเป็นทางการ ส่วนเนื้อผ้าสามารถเลือกให้เหมาะสมตามแต่วาระโอกาสได้
ชุดไทยจิตรลดา ตั้งชื่อตามพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ใช้ในงานพิธีช่วงกลางวัน มีลักษณะ แขนยาว ผ่าอกตลอด มีกระดุมเงิน ทอง หรือกระดุมที่กลืนกับผืนผ้า 5 กระดุม ปลายเสื้อคลุมรอบท่อนต้นของซิ่นมักแต่งในงานพิธี เช่น งานพระราชพิธีต่างๆ รับประมุขจากต่างประเทศที่มาเยือนอย่างเป็นทางการ เป็นเจ้าภาพหรือแขกผู้ใหญ่ในพิธีที่เป็นทางการ ไปงานศพของบุคคลสำคัญหรือเป็นเจ้าภาพในงานพระราชทานเพลิง ใช้ในงานที่ผู้ชายแต่งเต็มยศ เช่น รับประมุข ที่มาเยือนอย่างเป็นทางการที่สนามบิน ผู้แต่งไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ลักษณะเนื้อผ้าควรงดงามให้เหมาะสมโอกาสคะ
วันนี้เราจะมาแนะนำทุกคนไปทำความรู้จักกับชุดไทยพระราชนิยม และชุดไทยจิตรลดากันค่ะ
ที่มาของชุดไทยพระราชนิยมนั้น เริ่มต้นจากที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ศึกษาค้นคว้าเครื่องแต่งกายสตรีไทยสมัยต่างๆ และทรงเลือกชุดไทย 8 ชุด เพื่อตัดเย็บเป็นฉลองพระองค์ เพื่อเป็นชุดประจำชาติเวลาเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ และให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค คิดตั้งชื่อชุดให้เหมาะสม โดยนำชื่อพระตำหนักและพระที่นั่งต่างๆ มาเป็นชื่อชุด และทรงเป็นแบบอย่างในการแต่งกายชุดไทยจนแพร่หลายมากขึ้นคะ ซึ่งนิยมเรียกชุดไทยทั้ง 8 ชุดว่า ชุดไทยราชนิยม
สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชดำริ เรื่องการแต่งกายประจำชาติของสตรีไทย ตั้งแต่คราวเสด็จฯ เยือนประเทศเพื่อนบ้านเป็นครั้งแรก ในสมัยนั้นยังไม่มีชุดไทยต่างๆ ตามพระราชนิยม ได้ทรงคิดใช้ไหมไทย ผ้าไทย และผ้ายกต่างๆ มาประดิษฐ์ตกแต่งเป็นฉลองพระองค์ เพื่อให้แสดงถึงความเป็นไทย ทรงเจริญรอยสมเด็จพระพันปีหลวง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
เรื่องการใช้ฉลองพระองค์ ทรงให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์ และการแต่งกายของสตรีไทยสมัยโบราณมาประยุกต์ และทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อชุดไทยนี้ขึ้นตามแบบต่างๆ ซึ่งได้แนวคิดจาก ชื่อพระตำหนัก และพระที่นั่ง ดังนี้
1.ไทยเรือนต้น ( Thai Ruean Ton )
2.ไทยจิตรลดา (Thai Chitlada )
3.ไทยอมรินทร์ (Thai Amarin )
4.ไทยบรมพิมาน (Thai Boromphiman)
5.ไทยดุสิต (Thai Dusit )
6.ไทยจักรี (Thai Chakkri)
7.ไทยศิวาลัย ( Thai Siwalai )
8.ไทยจักรพรรดิ (Thai Chakkraphat )
วันนี้เรามีเทคนิคการเลือกชุดไทยจิตรลดา อย่างไรให้เหมาะสม
เรามีประวัติความเป็นมาของชุดไทยจิตรลดาทั้งหมด 8 ชุด และเทคนิคการเลือกใส่ชุดให้เหมาะสมกับงานต่างๆ มาฝากกันคะ
1.ชุดไทยเรือนต้น
เป็นเสื้อแขนกระบอกสามส่วน คอกลม ผ่าอก และไม่มีปกตั้ง ใส่กับผ้าซิ่นทอลายขวางยาวจรดข้อเท้า สีของเสื้อจะเป็นสีเดียวกับผ้าซิ่นหรือไม่ก็ได้ ส่วนเครื่องประดับนิยมติดเข็มกลัดที่หน้าอกซ้าย สร้อยมุก หรือทองสามสาย ไม่ต้องคาดเข็มขัด
2.ชุดไทยจิตรลดา
เป็นเสื้อแขนกระบอก ผ่าอก คอกลม มีขอบตั้งขึ้นเล็กน้อย ใช้ผ้าไหมเกลี้ยงใส่กับผ้าซิ่นยาวป้ายด้านหน้า มักจะใช้ในงานพิธีกลางวัน ที่มีความหรูหราและเป็นทางการขึ้นมาอีกหน่อย เช่น ต้อนรับแขกผู้ใหญ่จากต่างประเทศ
3. ชุดไทยอมรินทร์
เป็นเสื้อแขนกระบอกยาว คอกลม ผ่าอก มีปกตั้งขึ้นติดคอ หรือผู้มีอายุจะใช้แบบคอกลมกว้างไม่มีขอบตั้งก็ได้ มีความแตกต่างกับชุดไทยจิตรลดาที่ลายผ้า โดยชุดไทยอมรินทร์จะใช้ผ้ายกทอง ซึ่งดูหรูหรากว่า อนุโลมให้ไม่คาดเข็มขัดได้ ใช้สำหรับงานพิธีตอนค่ำ เช่น งานเลี้ยงรับรอง งานพระราชพิธีต่างๆ
4.ชุดไทยบรมพิมาน
ชุดไทยผ้าไหมแขนยาว คอตั้ง ใช้ผ้ายกไหม ยกทองมีเชิง หรือยกทองทั้งตัว ผ่าด้านหลัง ใส่กับผ้าซิ่นไหมยกดิ้นทอง มีจีบข้างหน้า มีชายพก ยาวจรดข้อเท้า และให้ใส่คู่กับเข็มขัดทองด้วย เป็นชุดไทยสำหรับพิธีตอนค่ำ หรือใส่รับพระราชทานน้ำสังข์ ควรประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สวมสร้อย หรือต่างหู
5. ชุดไทยดุสิต
เป็นชุดไทยที่สวยงามด้วยการเน้นลายปักตกแต่ง ตัวเสื้อเป็นแบบคอกลมกว้าง ไม่มีแขน ใส่กับผ้าซิ่นยกไทยหรือยกทอง คาดชายพก และคาดเข็มขัด นิยมใช้เป็นชุดงานเลี้ยง โดยควรสวมกับสร้อยคอ ข้อมือ ต่างหู ที่เข้าชุดกัน
6. ชุดไทยจักรี
เป็นชุดสไบเฉียงชายเดียว ปักดิ้นทอง ผ้ายกเป็นแบบมีเชิงหรือยกทั้งตัว โดยเปิดไหล่ข้างหนึ่ง ส่วนชายสไบที่คลุมไหล่ จะมีความยาวด้านหลังพอสมควร ใส่กับผ้าซิ่นยกจีบข้างหน้ามีชายพก และคาดเข็มขัดไทย เหมาะกับพิธีเลี้ยงฉลองต่างๆ และงานมงคลสมรส
7. ชุดไทยศิวาลัย
เสื้อแขนยาว คอกลม ปกตั้งขึ้นเล็กน้อย ตัวเสื้อจะเย็บติดกับผ้าซิ่นซึ่งเป็นผ้ายกทองหรือผ้ายกไหม มีจีบหน้านางด้านหน้า มีชายพก ห่มทับด้วยสไบเฉียงปักลายไทย มักใส่ในโอกาสพิเศษที่ต้องแต่งกายเต็มยศ หรือช่วงหน้าหนาว
8. ชุดไทยจักรพรรดิ
เป็นชุดไทยแบบห่มสไบเฉียง โดยใช้ผ้ายกทั้งตัว มีเชิงยกไหมหรือดิ้นทอง โดยจะห่มสไบ 2 ชั้น มีสไบแพรรองรับด้านใน ส่วนด้านนอกเป็นสไบปักดิ้นทอง นุ่งกับผ้าซิ่นมีจีบยกด้านหน้า ยาวจรดเท้า และมีชายพก ใส่กับเครื่องประดับที่สวยงามที่สุด เป็นชุดแบบไทยแท้ ที่เหมาะสำหรับงานเลี้ยงช่วงค่ำ
การใส่ชุดจิตรลดามักจะเกิดขึ้นในโอกาสหรืองานสำคัญที่เราต้องการแต่งตัวเป็นทางการและเรียบหรู
1. งานแต่งงาน เจ้าบ่าวและเจ้าสาวมักใส่ชุดไทยจิตรลดาในพิธีการแต่งงานเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและความสวยงามในวันสำคัญครั้งนี้คะ
2. งานแต่งงาน คนที่เป็น เพื่อนเจ้าบ่าวและเจ้าสาว งานแต่งหลายๆ งานมักเลือกที่จะใช้ชุดไทยจิตรลดาเป็นชุดเพื่อนเจ้าบ่าวและเจ้าสาวคะ
3. งานพิธีพระราชทาน หรืองานพิธีราชกุศล ในพิธีพระราชทานราชกุศลหรือพิธีสำคัญของบุคคลที่มีตำแหน่งสูง การใส่ชุดไทยจิตรลดาอาจเป็นสิ่งที่เหมาะสมเนื่องจากมีความสง่าสวยงามและเรียบหรู และควรเลือกสีชุดให้เหมาะสมกับงานนะคะ
4. งานเฉลิมพระชนมพรรษา ราชพิธีบรมราชาภิเษก ในพิธีการพระราชาภิเษกหรืองานสำคัญราชวงศ์ ผู้ร่วมงานมักจะใส่ชุดไทยจิตรลดาภายในงานคะ
การใส่ชุดไทยจิตรลดามักจะเกิดขึ้นในงานพิธีกรรมและงานสำคัญที่เราต้องการแสดงความเคารพและเรียบหรู ชุดไทยจิตรลดามีรากฐานในวัฒนธรรมไทยมายาวนาน ชุดไทยจิตรลดาเป็นชุดไทยที่มีลักษณะทางการและมีความเรียบหรู ชุดนี้มักถูกนำมาใช้ในงานสำคัญและพิธีการเป็นส่วนใหญ่คะ
เป็นอย่างไรบ้างคะได้รู้จักกับชุดไทยในแบบต่างๆรูปแบบการสวมใส่ความเหมาะสมให้เข้ากับงาน เราหวังว่าจะทำให้คนหันมานิยมชมชอบและใส่ชุดไทยสวยๆ กันมากขึ้นคะ ชุดไทยเป็นชุดที่สวยและงดงาม มีการออกแบบ ที่เป็นเอกลักษ์ อยู่ที่ความชอบของแต่ละบุคคล ว่าชอบชุดแบบไหน สวมใส่เนื่องในโอกาสอะไรคะ เช่น งานเข้าเฝ้า งานพิธีการต่างๆ มีงานราตรี และเรามักจะเห็นได้บ่อยในงานแต่งงานของคนไทยคะ